ผู้ขับขี่หลาย ๆ ท่านที่อยู่ในวงการขนส่งอาจจะเคยพบ รถบรรทุก มาหลายประเภท แต่อาจจะยังไม่เคยทราบถึงประเภทของ รถบรรทุก ที่กฎหมายกำหนดดังนั้น วันนี้ SO WHEEL มีเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับประเภทของรถบรรทุกมาฝากกันครับ
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ให้คำนิยามของ รถบรรทุก ไว้ว่า รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของเพื่อค่าสินจ้างหรือเพื่อธุรกิจการค้าของตนเองโดยจะต้องมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 1600 กิโลกรัม ซึ่งได้กำหนดลักษณะการใช้รถในการขนสิ่งของหรือสัตว์ โดยแยกออก ทั้งหมด 9 ลักษณะต่อไปนี้ครับ
รถกระบะบรรทุก
ซึ่งส่วนที่ใช้จะมีลักษณะเป็นกระบะ จะมีหลังคาหรือไม่มีก็ได้ หรือจะมีเครื่องทุ่นแรง ไว้เพื่อช่วยสำหรับยกสิ่งของได้ รวมถึงรถที่ใช้ในการบรรทุกไม่มีด้านข้างหรือด้านท้าย
✅ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์
รถตู้บรรทุก
โดยรถที่ใช้ในการบรรทุกจะมีลักษณะเป็นตู้ทึบ และมีหลังคาและตัวถังที่บรรทุกระหว่างผู้โดยสารและผู้ขับเป็นตอนเดียว โดยจะมีประตูบานใหญ่ไว้สำหรับให้ผู้โดยสารขึ้นลง หรือจะเลือกเปิดท้ายก็ได้
✅ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์
รถบรรทุกของเหลว
เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกของเหลวตามความเหมาะสมและจะต้องเป็นประเภทที่มีความปลอดภัยสูง
✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 ( บ.4 , ท.4 ) สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย
รถบรรทุกวัสดุอันตราย
เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกเฉพาะเพื่อใช้ในการบรรทุกวัสดุอันตราย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง สารเคมี วัตถุระเบิด วัสดุไวไฟ ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะและมีป้ายเตือนอย่างชัดเจน
✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย
รถบรรทุกเฉพาะกิจ
ซึ่งเป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกที่มีลักษณะพิเศษ เพื่อใช้ในการเฉพาะ เช่น รถบรรทุกเครื่องดื่ม รถผสมซีเมนต์ รถขยะมูลฝอย รถราดยาง หรือรถเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ
✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 ( บ.4 , ท.4 ) สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย
รถพ่วง
เป็นรถที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง จึงต้องอาศัยรถอื่นลากจูงโดยจะมีโครงรถที่มีเพลาล้อที่สมบูรณ์ในตัวเอง
✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก
รถกึ่งพ่วง
เป็นรถที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเอง จึงต้องใช้หัวรถลาก โดยน้ำหนักของรถบางส่วนจะต้องเฉลี่ยลงบนเพลาล้อของคันลากจูง
✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก
รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาง
เป็นรถที่ไว้ใช้ในการขนสิ่งของที่ยาว โดยจะมีโครงโลหะที่สามารถปรับตัวได้ตามช่วงล้อลากจูง
✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก
รถลากจูง
เป็นรถที่เป็นลักษณะสำหรับใช้ลากรถพ่วง รถกึ่งพ่วง เพราะรถเหล่านั้นจะไม่สามารถที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองจึงต้องอาศัยรถประเภทนี้ในการลากจูง
✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์
สรุปได้ว่า
รถบรรทุก แบ่งได้ทั้งหมด 9 ประเภท ตามที่กฎหมายกำหนด โดยกรมขนส่งทางบกได้ให้คำนิยามโดยแยกตามลักษณะการใช้งานในการขนสิ่งของหรือสัตว์ ดังนี้ คือ รถกระบะบรรทุก, รถตู้บรรทุก, รถบรรทุกของเหลว, รถบรรทุกวัสดุอันตราย, รถบรรทุกเฉพาะกิจ, รถพ่วง, รถกึ่งพ่วง, รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาง, รถลากจูง เมื่อผู้ขับขี่ทราบถึงลักษณะการใช้งานของ รถบรรทุก แต่ละประเภทแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานให้มากที่สุด นอกจะช่วยให้การขนส่งประหยัดต้นทุนแล้ว ยังช่วยให้ขนส่งสินค้าและสัตว์ได้อย่างปลอดภัยอีกด้วยครับ
บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน)
329 ม.10 กุศลส่งสามัคคี ซอย 1 ถนนรถรางสายเก่า ตำบลสำโรง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130 โทร : 02-363-9300 ต่อ 2105
โทร : 090-197-8531
เวลาติดต่อ จันทร์ - ศุกร์ 8:00 น.-17:00 น.
Line : @sowheel
เวลาติดต่อ จันทร์ - ศุกร์ 8:00 น.-17:00 น.
E-mail : [email protected]
เวลาติดต่อ จันทร์ - ศุกร์ 8:00 น.-17:00 น.